ได้เวลาใจดีกับโลก ด้วยพลังความร่วมมือ เพื่อสร้างความสำเร็จร่วมกันอย่างยั่งยืน

ได้เวลาใจดีกับโลก ด้วยพลังความร่วมมือ สู่ความสำเร็จร่วมกันอย่างยั่งยืน

เราตระหนักรู้ว่าปัญหาของเราคืออะไร แต่สิ่งที่ยังเป็นอุปสรรค คือ เราจะจัดการอย่างไร และเป็นหน้าที่ของใครบ้าง สิ่งนี้เป็นปัญหาใหญ่ที่สุด หากเราสนใจปัญหาต่างๆ ที่กล่าวมา แต่ถ้าตราบใดที่เรายังคิดว่าไม่ใช่หน้าที่เรา เป็นหน้าที่ของคนอื่น เช่น ภาครัฐบาล หรือภาคประชาสังคม แล้วปัญหาสังคมจะได้รับการแก้ไขอย่างไร

คุณวิเชียร พงศธร ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัทพรีเมียร์ ร่วมแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ในงาน Soul Connect 2025 Humanice มหกรรมพบเพื่อนใจ ภายใต้หัวข้อ “SDG Forward Faster ได้เวลาใจดีกับโลก” โดยเชิญวิทยากรจากภาคธุรกิจและภาคสังคม มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มุมมอง และความตระหนักถึงสถานการณ์โลก ประเด็นปัญหาเร่งด่วน ที่แต่ละภาคส่วนได้ร่วมกันลงมือทำเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านั้น เพื่อให้เกิดมุมมองการทำงานจากหลายหลายมิติ สามารถเชื่อมต่อและขยายผลได้ ร่วมสนทนาโดย ดร ธันยพร กริชติทายาวุธ ผู้อำนวยการบริหาร UNGCNT คุณวิเชียร พงศธร ประธานกรรมการกลุ่มบริษัทพรีเมียร์ และ คุณท็อป พิพัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านความยั่งยืน และ ผู้ก่อตั้ง Platform ECOLIFE ดำเนินรายการ โดย คุณ ธันยมัย Business Editor, The Cloud

คุณวิเชียรกล่าวถึงความจำเป็นและเหมาะสมของการดำเนินธุรกิจเพื่อสร้างความสำเร็จร่วมกันอย่างยั่งยืนทั้งสองด้านคือสังคมและธุรกิจว่า “ทำไมธุรกิจต้องแยกส่วนกับปัญหาสังคม เพราะสังคมก็เป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญที่ธุรกิจต้องรับผิดชอบ และเราเห็นว่าทรัพยากรของภาคธุรกิจนั้นมีมาก มีบุคลากร ทุนทรัพย์ องค์ความรู้ เราจึงคิดว่าจะนำประโยชน์จากการทำงานภาคธุรกิจมารับใช้สังคม  ธุรกิจที่ทำอยู่ต้องบูรณาการทั้งสองส่วนเข้าด้วยกัน  ดำเนินธุรกิจที่ส่งผลให้เกิดประโยชน์กับภาคสังคมโดยรวมด้วย เพราะการที่เราทำให้ภาคสังคมมีความเข้มแข็ง มีความยั่งยืนมากขึ้น ก็เป็นการลดความเสี่ยง และให้ประโยชน์ สร้างความยั่งยืนให้กับภาคธุรกิจด้วยเช่นกัน” เป็นการเน้นย้ำถึงความสำคัญของการบูรณาการธุรกิจกับการพัฒนาสังคม เพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อภาคธุรกิจและสังคมโดยรวม

ช่วงที่ 2 ของการสัมมนา คุณวิเชียรได้มีการชวนผู้เข้าร่วมงานแลกเปลี่ยนว่า ปัญหาเร่งด่วนของสังคมไทยที่เกี่ยวข้องกับทุกๆคนคืออะไรบ้าง ใช่ปัญหาเหล่านี้หรือไม่ เรื่องสิ่งแวดล้อม การศึกษา ปัญหาปากท้อง เศรษฐกิจ การสาธารณสุข ความยุติธรรมในสังคม ธรรมาภิบาล ทุจริตคอร์รัปชัน คุณวิเชียรเชื่อว่าทุกคนคงคิดว่า ทุกเรื่องเป็นปัญหาของสังคมทั้งหมด ที่อยู่ใกล้ตัวของเรา แต่คงมีระดับของความสำคัญที่ใกล้ตัวแตกต่างกัน  สอดคล้องกับที่มูลนิธิเพื่อ “คนไทย” ได้มีการทำผลสำรวจ คนไทยมอนิเตอร์ ในปี พ.ศ. 2557 พบว่าปัญหาสังคมตามผลวิจัย นั้นคือเรื่องเดียวกับในปัจจุบัน และดูเหมือนว่าปัญหายังมีความรุนแรงอยู่มาก

เพราะฉะนั้นในความเห็นของคุณวิเชียรเห็นว่า เราตระหนักรู้ว่าปัญหาของเราคืออะไร แต่สิ่งที่ยังเป็นอุปสรรค คือ เราจะจัดการอย่างไร และเป็นหน้าที่ของใครบ้าง สิ่งนี้เป็นปัญหาใหญ่ที่สุด หากเราสนใจปัญหาต่างๆ ที่กล่าวมา แต่ถ้าตราบใดที่เรายังคิดว่าไม่ใช่หน้าที่เรา เป็นหน้าที่ของคนอื่น เช่น ภาครัฐบาล หรือภาคประชาสังคม แล้วปัญหาสังคมจะได้รับการแก้ไขอย่างไร

ดังนั้นเรื่องเร่งด่วนที่ใหญ่ที่สุด  คือ การตระหนักรู้  หรือที่เรียกว่า Sense of urgency ความเร่งด่วนที่เราต้องรู้ว่า เราต้องลงมือจัดการกับปัญหานั้น และคิดว่าเป็นเรื่องของทุกคนที่มีบทบาทหน้าที่ในการร่วมกันแก้ไขปัญหาเหล่านั้น และสิ่งที่ต้องทำ คือ การจัดการ สร้างระบบของความร่วมมือ ให้กลายเป็นระบบนิเวศพลังของสังคม เกิดต้นแบบของการสร้างการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ เชื่อว่าทุกคนสามารถเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกได้ ผ่านการสร้างพลังพลเมืองที่มีส่วนร่วมเพื่อส่วนรวม  (Active Citizen) และ Corporate Citizen ให้เติบโตอย่างเข้มแข็ง

ภายใต้แนวปฏิบัติความสำเร็จร่วมกันอย่างยั่งยืนของกลุ่มบริษัทพรีเมียร์  “Harmonious Alignment of Success” เรามุ่งดำเนินธุรกิจบนหลักธรรมาภิบาล โดยพยายามลดผลกระทบทางลบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ภายในงานคุณวิเชียรได้นำเสนอตัวอย่างกลไกความร่วมมือ อาทิ โครงการกาแฟอินทรีย์รักษาป่า “มีวนา” ซึ่งเป็นความร่วมมือในการอนุรักษ์ผืนป่าต้นน้ำ จ.เชียงราย โครงการร้อยพลังการศึกษา เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาให้เด็กและเยาวชนไทย และกลไกการระดมทุนเพื่อสังคม


 

ร้อยพลังการศึกษากลไกสร้างความร่วมมือ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในสังคม ส่งมอบห้องเรียนดิจิตัลต้นแบบลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

ร้อยพลังการศึกษากลไกสร้างความร่วมมือ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในสังคม
ส่งมอบห้องเรียนดิจิตัลต้นแบบลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

ประเทศไทยยังคงเผชิญปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่ส่งผลกระทบต่อเด็กและเยาวชน จากข้อมูลของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กศส.) ในปี 2567 พบว่ามีเด็กกว่า 1.02 ล้านคน ที่หลุดออกจากระบบการศึกษา โดยเฉพาะกลุ่มครอบครัวที่ยากจนและห่างไกล และครอบครัวเปราะบาง ที่ส่งผลให้เด็กไม่สามารถเรียนหนังสือต่อได้จนจบการศึกษา 

จากการทำงานเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้กับเด็กและเยาวชนร่วมกับภาคีเครือข่ายภาคส่วนต่างๆ มาอย่างยาวนาน ในวันนี้โครงการร้อยพลังการศึกษาได้เข้ามาเปลี่ยนห้องเรียนธรรมดา ให้กลายเป็นห้องเรียนดิจิทัลที่ทันสมัย เพื่อเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ เต็มไปด้วยความหวัง สร้างความร่วมมือเพื่ออนาคตของเด็กไทย ในพื้นที่โรงเรียนบ้านวังเพลิง จ. ลพบุรี ที่สำคัญคือ พร้อมทำหน้าที่เป็นโชว์รูมห้องเรียนต้นแบบ เพื่อขยายผลความร่วมมือกับภาคเอกชนด้วยกลไกการสนับสนุนของภาครัฐและภาคสังคม

คุณอุทุมพร แจ่มเมือง รองผู้อำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) จังหวัดลพบุรี ได้มาร่วมสัมผัสห้องเรียนใหม่ที่เพียบพร้อมด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัยแห่งนี้ เธอเล่าว่า โครงการนี้เกิดจากการร่วมมือของหลายฝ่าย โดยกลุ่มบริษัทพรีเมียร์ได้เข้ามาเป็นแรงผลักดันสำคัญ สนับสนุนห้องเรียนดิจิทัลด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการศึกษายุคใหม่

โรงเรียนบ้านวังเพลิงเป็นเครือข่ายของมูลนิธิยุวพัฒน์มาเป็นระยะเวลา 6-7 ปีแล้ว ปัจจุบันมีนักเรียนที่ได้รับทุนจากมูลนิธิถึง 6 คน นอกจากทุนการศึกษาแล้ว นักเรียนที่นี่ได้รับโอกาสเข้าถึงหลักสูตรดิจิทัลที่ช่วยให้พวกเขาเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ใช่แค่ในตำราเรียน แต่ยังรวมถึงการพัฒนาทักษะชีวิตที่จำเป็นต่อโลกอนาคต

สิ่งที่ร้อยพลังการศึกษาได้มาร่วมพัฒนาโรงเรียน สอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับโรงเรียนทั้งด้านการบริหารจัดการหลักสูตร  การพัฒนาคุณภาพการศึกษา เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้จากเครื่องมือที่ดีและมีมาตรฐาน มีคุณภาพ เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้อย่างเท่าทันกับเทคโนโลยีในอนาคต คุณครูก็ได้รับการเติมเต็มความรู้และเตรียมความพร้อมให้สามารถสอนเด็กได้อย่างมีความสุขและมีประสิทธิภาพ และที่สำคัญเราได้เห็นเด็กนักเรียนมีความสุข และความสนุก ในการเรียนรู้จากเครื่องมือการเรียนรู้ใหม่ๆ ที่เด็กเป็นศูนย์กลาง

 จากกระดานดำสู่หน้าจอที่เปิดโลกกว้าง

คุณวิเชียร พงศธร ประธานกรรมการกลุ่มบริษัทพรีเมียร์ มองว่าการสร้างห้องเรียนดิจิทัลนี้ไม่ใช่แค่การให้เครื่องมือการเรียนรู้ใหม่ ๆ แต่เป็นการเปิดโอกาสให้เกิดความร่วมมือกัน เพื่อประโยชน์สูงสุดกับเด็กๆ ซึ่งโครงการร้อยพลังการศึกษานั้นพยายามพัฒนาบทบาทของตนเองในการเป็นกลไกสร้างความร่วมมือทั้งจากภาคสังคม ภาครัฐ และภาคเอกชนมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้คุณวิเชียรได้ขยายความถึงกลไกการทำงานของร้อยพลังการศึกษาเพิ่มด้วยว่า

“ร้อยพลังการศึกษาเป็นกลไกที่เชื่อมโยงภาคีการศึกษาและการพัฒนาเยาวชนเพื่อมอบโอกาสการเรียนรู้ที่รอบด้านให้กับเด็กไทย ผ่าน 6 เครื่องมือสำคัญ ได้แก่ โครงการทุนการศึกษาโดยมูลนิธิยุวพัฒน์  ห้องเรียนดิจิทัลด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ โดย เลิร์น เอ็ดดูเคชั่น ห้องเรียนดิจิทัลวิชาภาษาอังกฤษโดยวินเนอร์ อิงลิช โครงการครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Teach for Thailand) โครงการครูแนะแนวรุ่นใหม่ เพื่อช่วยให้นักเรียนได้ค้นหาเส้นทางอาชีพของตัวเอง โดย a-chieve และส่วนสุดท้ายคือการส่งเสริมจริยธรรมและคุณธรรมให้กับเด็กในโครงการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม ปัจจุบันได้พัฒนาและนำเครื่องมือเพื่อส่งเสริมการศึกษาเข้าสู่โรงเรียน วิทยาลัย และศูนย์เด็กเล็กทั่วประเทศ ขยายความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายจากหลากหลายภาคส่วน ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชนท้องถิ่น รวมถึงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนในสังคม เพื่อร่วมกันพัฒนาเด็กและเยาวชนไทยให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ”

การพัฒนาห้องเรียนต้นแบบเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษานี้ เป็นการนำร่องพัฒนาโดยใช้กลไกการสนับสนุนของภาครัฐ โดย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ที่มี มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม กระตุ้นให้ภาคเอกชนร่วมลงมือพัฒนาสังคมในด้านต่างๆ ประกอบด้วย ด้านการเกษตร การบริหารการจัดการน้ำแบบองค์รวม พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) ด้านการท่องเที่ยวชุมชน ด้านการศึกษา สาธารณสุข และสิ่งแวดล้อมในชุมชน รวมไปถึงด้านการลดปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 โดยมีสิทธิประโยชน์ทางภาษี กล่าวคือจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลระยะเวลา 3 ปี วงเงิน 120% ของเงินสนับสนุนที่จ่ายจริงตามที่สำนักงานกำหนด  และในกรณีการสนับสนุนด้านสาธารณสุขและด้านการศึกษา จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลระยะเวลา 3 ปี วงเงิน 50% ของเงินสนับสนุน

“ความร่วมมือของภาคสังคม และการสนับสนุนของภาครัฐที่เข้มแข็ง เมื่อสองส่วนมาร้อยพลังเข้าด้วยกัน ประกอบการเสริมพลังการขยายผลจากภาคเอกชนที่มีความสนใจในประเด็นปัญหาสังคม โดยเฉพาะด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เชื่อมั่นว่าจะสามารถขยายผลความร่วมมือ เพื่อปิดช่องว่างของความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาให้กับเด็กได้อีกเป็นจำนวนมาก”

จากลพบุรีสู่เป้าหมายการขยายผลกับโรงเรียนทั่วประเทศ

คุณธานินทร์ ทิมทอง กรรมการผู้จัดการ บริษัท เลิร์น เอ็ดดูเคชั่น จำกัด หนึ่งในภาคีเครือข่ายร้อยพลังการศึกษา พูดถึงโรงเรียนบ้านวังเพลิงด้วยรอยยิ้ม “ที่นี่ไม่ใช่แค่โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ แต่เป็นตัวอย่างของความมุ่งมั่นของครูและนักเรียนที่อยากเปลี่ยนแปลงชีวิตของตัวเอง และมีคุณครูที่แอคทีฟในการให้ความรู้ ด้วยเป้าหมายที่นักเรียนเป็นศูนย์กลางของการศึกษา

วันนี้ ห้องเรียนดิจิทัลของโรงเรียนบ้านวังเพลิงไม่ได้เป็นเพียงโชว์รูมของเทคโนโลยีการศึกษา แต่เป็นเครื่องพิสูจน์ว่า เมื่อทุกภาคส่วนร่วมมือกัน อนาคตของเด็กไทยก็สามารถเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นได้ และนี่อาจเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเดินทางที่ยาวไกล เพื่อสร้างโรงเรียนแห่งโอกาสให้เกิดขึ้นทั่วประเทศ

ภาคเอกชนที่สนใจสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้กับเด็กและเยาวชน หรือขยายผลในด้านอื่นๆ ร่วมกัน
สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมโครงการร้อยพลังการศึกษาที่ www.collaborationforgoodsociety.org/network   
เบอร์ โทรศัพท์ 02 301 -1117

เปิดวิสัยทัศน์ผู้นำ ลงทุนกับนิติธรรม หลักประกันอนาคตที่ยั่งยืน

เปิดวิสัยทัศน์ผู้นำ ลงทุนกับนิติธรรม หลักประกันอนาคตที่ยั่งยืน

คุณวิเชียร พงศธร ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัทพรีเมียร์ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนแนวคิด บทบาทสำคัญของประชาชนและทุกภาคส่วน ในการสร้างความร่วมมือเพื่อพัฒนาหลักนิติธรรมที่เข้มแข็ง ที่งาน “Thailand Rule of Law 2025 งานแฟร์เพื่อความแฟร์” จัดโดยสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) ร่วมกับภาคีเครือข่าย เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การสร้างสังคมที่ยั่งยืนและเท่าเทียม

คุณวิเชียรได้นำเสนอในหัวข้อ “เปิดวิสัยทัศน์ผู้นำ ลงทุนกับนิติธรรม หลักประกันอนาคตที่ยั่งยืน” โดยชี้ให้เห็นว่า “หลักนิติธรรม” ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของกฎหมายเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับความเป็นธรรม ธรรมาภิบาล และความเสมอภาคในสังคม เป็นคำที่มีความหมายที่กว้าง ซึ่งปัญหาที่เกิดจากการขาดหลักนิติธรรมนั้นส่งผลกระทบทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา หรือปัญหาสิ่งแวดล้อม และอีกมากมาย ตามบริบทในชีวิตประจำวันของทุกคนในสังคม ที่ล้วนส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศ หากสังคมไทยต้องการก้าวไปสู่ความยั่งยืน หลักนิติธรรมจำเป็นต้องได้รับการเสริมสร้างให้เข้มแข็ง

“การลงทุนเพื่อหลักนิติธรรมที่เข้มแข็งนั้น ต้องสร้างความร่วมมือกับทุกคนในสังคม เพื่อมาร่วมลงทุนทั้งด้านสติปัญญา ทุนทรัพย์ ทุนเวลา และทุนการมีส่วนร่วมของทุกคนในสังคม ในการพัฒนาหลักนิติธรรมให้มีความเข้มแข็ง เพื่อที่เราจะได้มีสังคมที่ยั่งยืน”

การลงทุนทางสังคม สร้างผลลัพธ์ที่มากกว่าผลกำไรทางธุรกิจ  คุณวิเชียรยังได้แลกเปลี่ยนถึงการทำงานด้านการลงทุนทางสังคม บนพื้นฐานของความร่วมมือ ด้วยความเชี่ยวชาญของคนที่หลากหลาย ผลลัพธ์ของการลงทุนนั้น ส่งผลตอบแทนที่คุ้มค่ามากกว่าการลงทุนทางด้านธุรกิจมากมายทวีคูณ และทำได้จริง ไม่ว่าจะเป็นงานด้านการศึกษา การสาธารณสุข การระดมทุนเพื่อสังคม งานทางด้านสิ่งแวดล้อม และเป็นสิ่งที่เห็นผลและมีความคุ้มค่า จากประสบการณ์ที่ทำงานด้านนี้มากว่า 30 ปี

เราเชื่อว่า ไม่มีใครที่จะเชี่ยวชาญหรือรู้ไปหมด ดังนั้นสิ่งสำคัญ คือ เราต้องพัฒนาความเชี่ยวชาญทักษะในการเชิญชวน สร้างพื้นที่ให้เกิดการเรียนรู้ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สร้างโอกาสให้คนที่หลากหลายมาร่วมกันทดลองผิดลองถูก สร้างสรรค์ทำงานในประเด็นที่หลากหลาย รวมถึงต้องมีการบริหารจัดการ กระบวนการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ เอื้อให้คนมาร่วมกันได้ เพื่อเดินหน้าไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

คุณวิเชียรกล่าวปิดท้ายว่า เชื่อมั่นว่าการทำงานสร้างความร่วมมือจะสร้างความยั่งยืนด้านหลักนิติธรรมที่เข้มแข็งของสังคมไทย ด้วยพลังความร่วมไม้ร่วมมือของคนจำนวนมาก  เป็นเส้นทางที่จะช่วยสร้างสังคมที่เป็นธรรม โปร่งใส และยั่งยืนสำหรับทุกคน

บริษัท พี เอม ฟูด จำกัด ถ่ายทอดแนวคิดความยั่งยืน กับกลุ่มผู้ประกอบการรุ่นใหม่

บริษัท พี เอม ฟูด จำกัด ร่วมถ่ายทอดแนวคิดความยั่งยืน
ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ที่สนใจธุรกิจบนแนวคิดความยั่งยืน

การดำเนินธุรกิจเพื่อสร้างการเติบโตและผลกำไรอย่างยั่งยืน เป็นเป้าหมายสำคัญที่องค์กรต่างๆ โดยเฉพาะผู้ประกอบการรุ่นใหม่ในหลากหลายธุรกิจมุ่งมั่นที่จะบรรลุให้ได้อย่างต่อเนื่อง สิ่งสำคัญที่เป็นปัจจัยในการพัฒนาคือ การเรียนรู้ผ่านกระบวนการลองผิดลองถูก เพื่อเร่งสร้างการเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการศึกษาจากองค์กรที่มีแนวคิดการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน และสามารถสร้างผลกำไรให้ธุรกิจได้อย่างมั่นคงในระยะยาว

บริษัท พี เอม ฟูด จำกัด  ต้อนรับกลุ่มผู้ประกอบการ Startup มาศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ บริษัท พี เอม ฟูด จำกัด  ซึ่งธุรกิจเหล่านี้มีเป้าหมายเพื่อต้องการศึกษารูปแบบธุรกิจที่ประสบความสำเร็จบนแนวคิดความยั่งยืน รวมถึงมีแนวทางการพัฒนาสินค้าและบริการที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างยั่งยืน เรียนรู้ต้นแบบของธุรกิจที่ยั่งยืน นำไปปรับใช้ในการพัฒนาธุรกิจให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น

โดยคุณวิภาส จิรภาส กรรมการผู้จัดการ บริษัท พี เอม ฟูด จำกัด และทีมงานร่วมเป็นตัวแทนแลกเปลี่ยนประสบการณ์ กลยุทธ์ที่นำไปสู่ความสำเร็จทางธุรกิจอย่างยั่งยืน การใช้ความเชี่ยวชาญของธุรกิจและทรัพยากร การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการปรับปรุงพัฒนากระบวนการผลิต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และที่สำคัญคือ การดำเนินงานเพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับสังคมและสิ่งแวดล้อม  รวมถึงการสร้างความอยู่ดีมีสุขให้กับพนักงาน ตามแนวปฏิบัติความสำเร็จร่วมกันอย่างยั่งยืนของกลุ่มบริษัทพรีเมียร์ ทั้ง3 ด้านคือ ธุรกิจก้าวหน้า พนักงานมั่นคง สังคมยั่งยืน เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้กับธุรกิจของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยกลุ่มผู้ประกอบการที่เข้าร่วมศึกษาดูงานครั้งนี้ประกอบด้วย อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , บริษัท นาอีฟ อินโนว่า จำกัด, หจก. ไทยคอฟฟี่โรสเตอร์, บริษัท พีทูเอ อินโนเวชั่น จำกัด, บริษัทซี.เอช.เอฟ กรุ๊ป จำกัด, บริษัท ไร่แสนฝาง2024 จำกัด, บริษัท มาร์โจรี่ จำกัด, หจก. เอ็นฟีลานนา อินเตอร์เนชั่นแนลเทรดดิ้ง และ หจก. ไวท์ ไทเกอร์คิง

กิจกรรมในครั้งนี้สร้างแรงบันดาลใจและความรู้ให้กับผู้ประกอบการอย่างมาก และถือเป็นอีกก้าวสำคัญที่บริษัท พี.เอม.ฟูด ได้ถ่ายทอดแนวคิดและสร้างแรงบันดาลใจในการดำเนินธุรกิจด้วยความยั่งยืนให้เกิดการขยายผลแนวคิดต่อไปในวงกว้าง

บริษัท ดาต้าโปร คอมพิวเตอร์ ซิสเต็มส์ จำกัด ตอกย้ำการดำเนินธุรกิจด้วยธรรมาภิบาล จัดกิจกรรม Anti-Corruption

บริษัท ดาต้าโปร คอมพิวเตอร์ ซิสเต็มส์ จำกัด
ตอกย้ำการดำเนินธุรกิจด้วยธรรมาภิบาล ผ่านกิจกรรม Anti-Corruption

เรื่องคุณธรรม จริยธรรม และความโปร่งใส คือหนึ่งในคุณค่าองค์กรของกลุ่มบริษัทพรีเมียร์ที่ปลูกฝังและผลักดันให้พนักงานนำมายึดถือและปฏิบัติ รวมทั้งให้เห็นความสำคัญในการร่วมแก้ไขปัญหาสังคมร่วมกันจนเกิดเป็นวัฒนธรรมที่ดีขององค์กร

บริษัท ดาต้าโปร คอมพิวเตอร์ ซิสเต็มส์ จำกัด สายธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศ ของกลุ่มบริษัทพรีเมียร์ สร้างความตระหนักรู้ และส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรที่โปร่งใสแก่พนักงานผ่านกิจกรรม Anti-Corruption  เพราะกลุ่มพนักงานเป็นกำลังสำคัญที่เสริมสร้างความสำเร็จของการดำเนินธุรกิจที่ต้องมีคุณธรรม จริยธรรม ความโปร่งใสเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของบริษัทที่จะรักษาค่านิยมขององค์กรและร่วมกันส่งเสริมการต่อต้านทุกจริตคอร์รัปชันในทุกกระบวนการทำงาน ตามแนวปฏิบัติความสำเร็จร่วมกันอย่างยั่งยืนของกลุ่มบริษัทพรีเมียร์ เพราะสิ่งที่ดีต่อธุรกิจ ต้องสร้างคุณค่าต่อสังคมและต้องส่งเสริมให้พนักงานได้มีส่วนร่วม จึงจะถือเป็นความสำเร็จที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง

บริษัท พรีเมียร์ โพรดักส์ จำกัด (มหาชน) รับรางวัล CSR-DIW CONTINUOUS AWARD 2024 ต่อเนื่องปีที่ 14

บริษัท พรีเมียร์ โพรดักส์ จำกัด (มหาชน)
รับรางวัล CSR-DIW CONTINUOUS AWARD 2024 ต่อเนื่องปีที่ 14

เพราะปัญหาสิ่งแวดล้อมและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุดเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน ในการดำเนินธุรกิจด้วยการคำนึงถึงความยั่งยืนทั้งด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและการมีความรับผิดชอบตามหลักธรรมาภิบาล และมีการบริหารจัดการที่เหมาะสมอย่างรู้คุณค่า

บริษัท พรีเมียร์ โพรดักส์ จำกัด (มหาชน) ได้รับรางวัล CSR-DIW CONTINUOUS AWARD 2024 ต่อเนื่องปีที่ 14 ตั้งแต่ปี 2553-2567 โดยคุณธิติพัทธ์ อดิลักษณ์ธราดล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท พรีเมียร์ โพรดักส์ จำกัด (มหาชน) ได้เข้าร่วมรับรางวัลมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการ จากกระทรวงอุตสาหกรรม  ซึ่งทางบริษัทฯได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรมที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม อย่างมีส่วนร่วม (CSR-DIW CONTINUOUS AWARD 2024) เพื่อเป็นการพัฒนาให้ความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจอุตสาหกรรมและชุมชนเป็นไปอย่างยั่งยืน

สิ่งนี้ตอกย้ำถึงแนวทางการดำเนินธุรกิจในการ“สร้างสรรค์คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน”  พัฒนาผลิตภัณฑ์ระบบบำบัดน้ำและพลังงานสะอาดอย่างครบวงจร เพื่อเป้าหมายในการส่งเสริมและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้บริโภค ควบคู่ไปกับการดูแลความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, มูลนิธิเพื่อคนไทย, องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) และภาคีเครือข่าย ร่วมกันแถลง “ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการเลือกตั้งนายก อบจ.”

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, มูลนิธิเพื่อคนไทย, องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) และภาคีเครือข่าย ร่วมกันแถลง
“ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการเลือกตั้งนายก อบจ.”

สถานการณ์ในประเทศไทย ในช่วงนี้ที่ควรต้องจับตามองเรื่องการทุจริตคอร์รัปชัน คือการเลือกตั้งนายก อบจ.และ ส.จ.อีก 46 จังหวัด ที่กำลังจะหมดวาระลงในวันที่ 20 ธันวาคมนี้ และจะมีการเลือกตั้งพร้อมกันในวันที่ 1 ก.พ.ปี 2568 ที่มีความเสี่ยงต่อการทุจริตอย่างมาก

เมื่อวันที่ 26 พ.ย. ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มูลนิธิเพื่อคนไทย, องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) และภาคีเครือข่าย ร่วมกันแถลง “ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการเลือกตั้งนายก อบจ.” สำรวจความคิดเห็นประชาชน 2,017 ตัวอย่างทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 1-11 ตุลาคม 2567 โดยเป็นประชาชนจากเขตเมืองใหญ่ 33% เขตชนบท 67% เป็นผู้ที่เคยเลือกตั้งมาแล้ว 80% และเป็นผู้เลือกตั้งครั้งแรก (First Voter) 20%

รศ.ดร.เสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ ที่ปรึกษาประจำสภามหาวิทยาลัย ม.หอการค้าไทย เปิดเผยว่า ผลสำรวจพบประชาชน 62.4% ติดตามและเฝ้ารอที่จะไปเลือกตั้งนายก อบจ. และ ส.จ.ในครั้งนี้  ขณะที่ 37.4% ไม่ได้ตั้งใจติดตามมากนักแต่จะไปเลือกตั้ง และ 0.2% ไม่ได้ติดตามและจะไม่ไปเลือกตั้ง

เมื่อถามว่าระหว่างผู้สมัครที่สังกัดและไม่สังกัดพรรคการเมืองระดับชาติจะเลือกผู้สมัครแบบใดมากกว่า พบว่า 57.2% เลือกผู้สมัครที่ไม่สังกัดพรรคการเมือง ขณะที่ 42.8% เลือกผู้สมัครที่สังกัดพรรคการเมือง โดย First Voter เลือกที่สังกัดพรรคการเมืองเป็นส่วนใหญ่ที่ 54.5%

คนไทยรับรู้ว่ามีการทุจริตในระดับ อบจ. แต่ยังรับได้หากทำให้เจริญ  เมื่อถามว่าทราบหรือไม่ว่าประเทศไทยมีการทุจริตงบประมาณท้องถิ่นเป็นมูลค่ามหาศาล พบว่า 95.4% รับทราบ รับรู้ผ่านสื่อและข่าวสาร และรับทราบจากประสบการณ์ตรง ทั้งการสังเกตว่างานไม่ได้มาตรฐาน พบเห็นการทุจริตจัดซื้อจัดจ้าง ผ่านคำบอกเล่าในท้องถิ่น และพบเห็นด้วยตนเอง

อย่างไรก็ดีนโยบายเรื่องความโปร่งใส การต่อต้านคอร์รัปชันอาจไม่ได้มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกหรือไม่เลือกผู้สมัครมากนัก โดยพบว่า 85% ยังคงเลือกผู้สมัครท่านนั้น แม้จะไม่มีนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันเลยก็ตาม แต่จะมองว่าเป็นคนทำงานหรือคนคุ้นเคยหรือไม่ และที่ผ่านมามีผลงานดี เข้าใจปัญหาท้องถิ่น ไม่มีประวัติเสีย และมองว่าการที่นักการเมืองไม่ค่อยชูประเด็นความโปร่งใสหรือนโยบายต่อต้านการทุจริต เพราะจะเป็นการสร้างศัตรูทางการเมือง มีแรงต้านจากกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ และเป็นนโยบายที่ทำเองไม่ได้

ผลสำรวจที่น่าสนใจคือ เมื่อถามว่า เห็นด้วยหรือไม่ “หาก อบจ. มีการทุจริตคอร์รัปชันบ้าง แต่มีผลงานและทำประโยชน์ให้พื้นที่ของท่านเป็นเรื่องที่รับได้” พบว่าคนส่วนใหญ่กว่า 40.4% เห็นด้วย ขณะที่ 32% ไม่แน่ใจ และไม่เห็นด้วยเป็นส่วนน้อยที่ 27.6% กลุ่ม First Voter ส่วนใหญ่ตอบไม่เห็นด้วย

รศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า จากการสำรวจครั้งนี้พบว่าคนอาจไม่ได้คำนึงถึงความซื่อสัตย์มากขนาดนั้น เมื่อเทียบกับการเมืองใหญ่ระดับประเทศที่คนต้องการเรื่องความโปร่งใส ต่อต้านการทุจริตมากกว่า

“ในการเมืองระดับประเทศเวลาทำเรื่องดัชนีคอร์รัปชัน คนรุ่นใหม่และคนที่มีสิทธิเลือกตั้งในปัจจุบันจะปฏิเสธการโกงแต่ทำให้เจริญมากขึ้น แต่ในระดับท้องถิ่นยังไม่เหมือนระดับประเทศ จากที่ทำการสำรวจมาตลอด พบว่าในระดับประเทศมีน้อยกว่า 5% ที่ยังเอารัฐบาลที่โกงแล้วพัฒนาประเทศ ขณะที่อีก 95% ไม่ยอมรับ แต่เมื่อมาดูการเลือกตั้ง อบจ. ในคำถามว่าทุจริตแต่สร้างผลงานเป็นเรื่องที่รับได้ กลับเห็นด้วยถึง 40.4% จึงมีอีกหลายอย่างที่พรรคการเมือง ภาคการเมือง ภาคประชาชน องค์กรต่างๆ ต้องทำงานร่วมกัน” รศ.ดร.ธนวรรธน์ กล่าว

เมื่อถามว่าในการเลือกตั้งครั้งนี้จะมีการซื้อเสียงเกิดขึ้นหรือไม่ ส่วนใหญ่ 68% ตอบว่าเกิดขึ้นโดยทั่วไป ขณะที่ 27.3% เชื่อว่าเกิดขึ้นในบางพื้นที่เท่านั้น และ 4.7% ไม่มีการซื้อเสียงเกิดขึ้น โดยได้สอบถามราคาในการซื้อเสียงในแต่ละภูมิภาคพบว่า ราคาต่ำสุดอยู่ที่ภาคกลาง 100 บาท ขณะที่ราคาสูงสุดอยู่ที่ภาคเหนือ 5,000 บาท เฉลี่ยทุกภูมิภาคคาดว่าจะมีการซื้อเสียงที่ 903 บาทต่อคน

ขณะเดียวกันเมื่อถามว่า ยอมรับการซื้อเสียงในการเลือกตั้งนายก อบจ.และ ส.จ.ได้หรือไม่ กว่า 63.7% บอกว่ายอมรับได้ โดยมองว่าเป็นเรื่องปกติในการเลือกตั้งท้องถิ่น และเป็นสินน้ำใจ ค่าเดินทาง อย่างไรก็ดี 56% ตอบว่าเมื่อรับเงินแล้ว จะไม่เลือกคนที่จ่ายเงินให้ เพราะต้องการที่จะต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน ยึดมั่นในหลักจริยธรรมและความถูกต้อง ต้องการเปลี่ยนแปลงระบบการเมือง แต่มีโอกาสจะเปลี่ยนใจเลือกผู้สมัครได้หากมีการจ่ายเงินสูงกว่า 2,784 บาท

รศ.ดร.เสาวณีย์ กล่าวว่า ในการเลือกตั้ง อบจ.เฉพาะจังหวัดที่จะมีการเลือกตั้งในปี 2568 รวมทั้งหมด 46 จังหวัด จะมีผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 28.22 ล้านคน ถ้าผู้มีสิทธิเลือกตั้งออกมาใช้สิทธิ 60% และหากมีการซื้อเสียงที่หัวละ 900 บาท คาดว่าจะมีเงินสะพัดช่วงเลือกตั้งมากกว่า 15,000 ล้านบาท

ความหวังแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชันในการเมืองท้องถิ่น

ขณะเดียวกันแม้ผลสำรวจจะพบว่าประชาชนส่วนใหญ่รับรู้ว่ามีการทุจริตในระดับท้องถิ่นหรือระดับจังหวัดและมองเป็นเรื่องปกติ แต่เมื่อถามว่าอยากมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหานี้หรือไม่ พบว่ากว่า 93.6% อยากมีส่วนร่วม เพราะอยากสร้างความเชื่อมั่นในระบบการเมือง ช่วยให้เกิดการตรวจสอบ สร้างความเท่าเทียมและความยุติธรรม แสดงความเป็นพลเมืองที่ดีและเพื่อให้เกิดการใช้งบประมาณที่โปร่งใสด้วย

นายวิเชียร พงศธร ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) และประธานกรรมการมูลนิธิเพื่อคนไทย กล่าวว่า หวังว่าการสำรวจทั้งหมดนี้จะเป็นประโยชน์แก่ประชาชนทั่วไป ที่จะได้รับรู้ความเห็นของตนและของคนอื่นๆ และรับรู้ว่าต้องทำอย่างไรต่อไป อีกทั้งยังเป็นประโยชน์กับนักการเมืองและผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ให้เข้าใจได้ดียิ่งขึ้นว่าประชาชนอยากได้อะไร อยากเห็นนักการเมืองเข้ามาทำประโยชน์อะไรในท้องถิ่น และคงเป็นประโยชน์กับองค์กรที่มีหน้าที่ในการกำกับการเลือกตั้ง เช่น กกต. เพราะผลสำรวจพบว่าประชาชนส่วนใหญ่รับรู้ว่ามีการซื้อเสียง ก็หวังว่า กกต.จะรับทราบเรื่องนี้ และทำงานด้วยความขยันขันแข็งในการป้องกัน เช่นเดียวกับผลสำรวจที่บอกว่าประชาชนรับรู้ว่ามีการทุจริตคอร์รัปชัน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่าง ป.ป.ช. อาจต้องมีการตรวจสอบและดำเนินการเพิ่มเติมมากกว่าเดิม

“มีเรื่องที่ฟังแล้วรู้สึกดีใจ คือประชาชนตื่นรู้ว่ามีการทุจริตคอร์รัปชัน และเมื่อได้รับเงินซื้อเสียงมาแล้ว ส่วนใหญ่ก็จะไม่เลือกให้คนซื้อเสียง นั่นหมายความว่าการซื้อเสียงอาจไม่ได้ประสบความสำเร็จเสมอไป ใครที่จะลงทุนก็ต้องคิดหนักเหมือนกัน และที่เป็นคุณอย่างมาก คือการที่ประชาชนได้แสดงความเห็นว่าอยากมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาทุจริต คอร์รัปชัน ซึ่งเรื่องนี้จะเป็นจุดพลิกผันที่แท้จริง”


ที่มาเนื้อหา https://www.thairath.co.th/scoop/interview/2827777

กลุ่มบริษัทพรีเมียร์จัดงาน “Premier Way” ผนึกกำลัง 4 สายธุรกิจ ขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความสำเร็จร่วมกันอย่างยั่งยืน

กลุ่มบริษัทพรีเมียร์จัดงาน "Premier Way" เส้นทางธุรกิจยั่งยืนฉบับพรีเมียร์
ผนึกกำลัง 4 สายธุรกิจ ขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความสำเร็จร่วมกันอย่างยั่งยืน

กลุ่มบริษัทพรีเมียร์ กลุ่มบริษัทไทยที่เป็นผู้นำในการทำธุรกิจที่ประสบความสำเร็จทั้งในด้านสังคม องค์กร และพนักงาน เพื่อสร้างความสุขที่ยั่งยืนร่วมกัน  ได้จัดงาน Premier Way เส้นทางความยั่งยืนฉบับพรีเมียร์ เพื่อทบทวนแนวทางการดำเนินธุรกิจของบริษัทต่างๆภายใต้กลุ่มบริษัทพรีเมียร์ ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างคุณค่าให้กับสังคมผ่านการดำเนินธุรกิจ เพื่อเตรียมความพร้อมรับความท้ายทายในปี 2568 โดยจับมือ 4 สายธุรกิจหลัก ประกอบด้วย

สายธุรกิจสิ่งแวดล้อม ธุรกิจที่ดำเนินงานด้วยการให้ความสำคัญกับทรัพยากรน้ำและพลังงาน ซึ่งถือเป็นทรัพยากรสำคัญในการดำรงชีวิต ภายใต้แนวทาง “สร้างสรรค์คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน” ให้คำปรึกษาและบริการด้านการบริหารจัดการน้ำ พลังงานสะอาดครบวงจร รวมทั้งผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้างเพื่อสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ทรัพยากรน้ำและพลังงานอย่างรู้คุณค่า เกิดประโยชน์สูงสุด  โดยบริษัท พรีเมียร์ โพรดักส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท อินฟินิท กรีน จำกัด

สายธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค  ดำเนินธุรกิจจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีคุณประโยชน์ให้กับผู้บริโภคและสัตว์เลี้ยง ที่ยึดมั่นในคุณประโยชน์ โภชนาการ คุณภาพ ความปลอดภัย และการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าด้วยความโปร่งใส ทำงานร่วมกับห่วงโซ่คุณค่า เพื่อให้ผู้บริโภคและสัตว์เลี้ยงเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัย มีคุณประโยชน์ได้อย่างเท่าเทียม โดยมีบริษัท พรีเมียร์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) และบริษัท พี.เอม.ฟูด จำกัด

สายธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยและมีคุณภาพ ด้วยบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในสินค้าและบริการ เพื่อส่งมอบความอุ่นใจ มั่นใจให้แก่ทุกภาคส่วน เสริมศักยภาพให้องค์กรธุรกิจเติบโต มั่นคง สร้างประสิทธิภาพสูงสุดในการดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของความปลอดภัย โดยบริษัท ดาต้าโปร คอมพิวเตอร์ ซิสเต็มส์ จำกัด

สายธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และกลุ่มธุรกิจโรงแรม ดำเนินธุรกิจด้าน Hospitality & Design ที่ส่งมอบประสบการณ์การเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม ความเป็นตัวตน เอกลักษณ์ ของชุมชนแต่ละพื้นที่ สร้างความสุข สร้างช่วงเวลาดีๆ ให้ครอบครัว ได้ใช้เวลาร่วมกัน ตอบโจทย์งานเลี้ยงสังสรรค์ การท่องเที่ยว การอยู่อาศัย ในทุกๆช่วงวัย โดยโรงแรมแทมมาริน วิลเลจ และโรงแรมรายา เฮอริเทจ จ.เชียงใหม่ โรงแรมราวยาวดี จ.กระบี่ สถานที่จัดงานใจกลางเมือง เดอะ โบทานิคอล เฮาส์ รวมถึงบ้านรายา เรสซิเดนซ์ เพื่อร่วมกันกำหนดกลยุทธ์ธุรกิจยั่งยืน

โดยงานครั้งนี้ผู้บริหารและพนักงานจากทุกสายธุรกิจได้ทบทวนแนวปฏิบัติ “ความสำเร็จร่วมกันอย่างยั่งยืน” ที่ให้ความสำคัญกับพนักงาน ธุรกิจ และสังคมเท่าเทียมกัน และการนำคุณค่าหลักที่สำคัญ 5 ด้าน คือ ความคิดสร้างสรรค์  ผสานความรู้ คุณภาพ คุณธรรมจริยธรรม และประโยชน์ร่วมกัน สร้างความเข้าใจสู่พนักงาน เพื่อให้สามารถขยายผลแนวปฏิบัตินี้กับผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่คุณค่าทั้ง ลูกค้า คู่ค้า เพื่อเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจที่สร้างความยั่งยืนสำหรับทุกคน

ในกระบวนการจัดงาน Premier Way สรุปได้ 4 ประเด็นสำคัญ ประกอบด้วย “การทบทวนแก่นของธุรกิจ”ในแต่ละสายธุรกิจที่มีลักษณะการประกอบธุรกิจที่แตกต่างกัน เข้าใจ“คุณค่าที่ธุรกิจได้ส่งมอบให้กับสังคมและชุมชน” ว่าสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในด้านต่างๆ ทั้งความมั่นคงทางอาหาร การบริหารจัดการ ใช้งานทรัพยากรน้ำและพลังงานสะอาดอย่างมีความรับผิดชอบ เพื่อใช้งานทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมที่ดีงาม รวมถึงการสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าด้วยการนำเสนอเทคโนโลยีและบริการที่ตอบโจทย์กับโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และตอกย้ำ “เส้นทางการดำเนินธุรกิจ” ของทุกบริษัทในกลุ่มบริษัทพรีเมียร์ว่าไม่ว่าจะดำเนินธุรกิจในด้านใด แต่ปลายทางนั้นคือการสร้างความยั่งยืนให้กับสังคมและโลกใบนี้

ส่วนสุดท้ายคือ “การระดมสมองเพื่อวางแผนธุรกิจ” ที่มีแกนหลักสำคัญคือ การสร้างความยั่งยืนให้กับสังคม ควบคู่กับการพัฒนาศักยภาพ เพิ่มทักษะของพนักงานในทุกด้านให้พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง เพื่อเป็นกำลังสำคัญที่จะขับเคลื่อนให้ธุรกิจเติบโต เตรียมพร้อมต่อความท้าทายในปี 2568 และในอนาคต พร้อมส่งมอบคุณค่าสู่สังคมผ่านการดำเนินธุรกิจ  เพื่อเป้าหมายการสร้างความสำเร็จร่วมกันอย่างยั่งยืนตามแนวปฏิบัติของกลุ่มบริษัทพรีเมียร์

 

กลุ่มบริษัทพรีเมียร์ตอกย้ำเจตนารมณ์ งดรับของขวัญ (No Gift) ตามนโยบายการรับของขวัญและงานเลี้ยงรับรองทางธุรกิจ

กลุ่มบริษัทพรีเมียร์ย้ำเจตนารมณ์งดรับของขวัญ (No Gift)
ตาม “นโยบายการรับของขวัญ และงานเลี้ยงรับรองทางธุรกิจ”

กลุ่มบริษัทพรีเมียร์ย้ำเจตนารมณ์งดรับของขวัญ (No Gift) และส่งเสริมให้ทุกสายธุรกิจในกลุ่มฯ ปฏิบัติตาม “นโยบายการรับของขวัญ และงานเลี้ยงรับรองทางธุรกิจ” พร้อมยึดมั่นหลักการทำธุรกิจด้วยความโปร่งใสตามหลักการกับดูแลกิจการที่ดี

กลุ่มบริษัทพรีเมียร์ยึดถือเรื่อง “ความสำเร็จร่วมกันอย่างยั่งยืน” เป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจค่ะ โดยมีเรื่อง “คุณธรรม จริยธรรม” เป็นหนึ่งคุณค่าหลักในการนำมาปฏิบัติการทำงาน และไม่มีนโยบายที่จะรับของขวัญในรูปแบบใดกับผู้ทำธุรกิจ กับกลุ่มฯ เว้นแต่การให้หรือรับของขวัญตามประเพณีนิยมที่อยู่ในเกณฑ์พอสมควรเพื่อรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ทำธุรกิจกับกลุ่มฯ โดยไม่หวังที่จะได้รับการบริการหรือสิ่งตอบแทนโดยเฉพาะเจาะจงที่ไม่ถูกต้องตามหลักจรรยาบรรณทางธุรกิจ

เทศกาลปีใหม่นี้ สามารถมอบความสุขให้แก่กัน โดยร่วมกันเปลี่ยนของขวัญเป็นคำอวยพร และร่วมกันสร้างมาตรฐานที่ดีในการดำเนินธุรกิจที่โปร่งใส ให้สอดคล้องกับนโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันทุกรูปแบบ​

Without Illusion – อปมายา (อะ-ปะ-มา-ยา) งานนิทรรศการ ณ โรงแรมรายาเฮอริเทจ จ.เชียงใหม่

Without Illusion อปมายา : ศิลปะที่ปลดเปลื้องถึงแก่นแท้
นิทรรศการโดย ศิริพงษ์ เรืองศรี และ ศิริรัตน์ จิวานุวงศ์ โรงแรมรายา เฮอริเทจ

เพราะความตั้งใจที่จะรักษาศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิตพื้นเมืองที่มีเอกลักษณ์  และต้องการขยายเสน่ห์เหล่านี้ออกไปให้อยู่คู่กับคนรุ่นหลังไม่ให้เลือนหายไป เป็นหนึ่งหัวใจของการดำเนินธุรกิจของโรงแรมรายาเฮอริเทจ

โรงแรมรายา เฮอริเทจ นําเสนอ Without Illusion – อปมายา (อะ-ปะ-มา-ยา) นิทรรศการประติมากรรมศิลปะร่วมสมัยและเครื่องประดับเงินที่ชวนหลงใหล โดยศิริพงษ์ เรืองศรี และศิริรัตน์ จิวานุวงศ์ ถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์ด้วยสัญชาตญาณ พร้อมเผยให้เห็นถึงความงามของศิลปะจากดินและเงินที่ปราศจากการปรุงแต่ง สรรสร้างในแนวทางเฉพาะตัวของศิลปินทั้งสอง

แรงบันดาลใจจากสัญชาตญาณและอารมณ์  งานประติมากรรมของศิริพงษ์ล้วนได้รับแรงบันดาลใจจากการสังเกตอากัปกิริยาของผู้คนในชีวิตประจําวัน นำมาแปลความหมายผ่านวัสดุหลากหลายที่อยู่รอบตัว ทั้งโลหะ ไม้ ดิน และหิน  ก่อเกิดงานที่สะท้อนความงามตามธรรมชาติและความเป็นจริง ทั้งยังปล่อยให้รูปทรงของวัสดุและอารมณ์เหล่านั้นนําพาไปยังจุดหมายปลายทาง ซึ่งผลงานทุกชิ้นของศิริพงษ์ล้วนแล้วแต่ให้ความสําคัญกับสัญชาตญาณมากกว่าโครงสร้างที่ตายตัวและการปรุงแต่งใดๆ

ความร่วมมือโดยบังเอิญ นับเป็นเรื่องบังเอิญที่ศิลปินทั้งสองมีแนวคิดในการสร้างสรรค์ศิลปะพ้องกัน ทั้งในเรื่องของอารมณ์และความงามที่จริงใจ ทำให้ชิ้นงานเครื่องประดับของศิริรัตน์กลับมามีชีวิตชีวาและเปล่งประกายขึ้นมาอีกครั้งบนผลงานประติมากรรมของศิริพงษ์

Without Illusion – อปมายา ได้เชื้อเชิญให้ทุกท่านเข้ามามีส่วนร่วมกับงานศิลปะที่บริสุทธิ์และปราศจากการปรุงแต่ง ผลงานแต่ละชิ้นสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของศิลปินในการแสดงออกอย่างตรงไปตรงมา ไม่ว่าจะเป็นรายละเอียดหรือรูปแบบของงานก็ล้วนเผยให้เห็นถึงพลังแห่งสัญชาตญาณและวิธีการการสร้างสรรค์ที่มีความสำคัญไม่ต่างจากผลงานที่ปรากฏ ซึ่งนอกจากจะเป็นนิทรรศการที่นำเสนอมุมมองของพลังบริสุทธิ์และการแสดงออกถึงงานศิลปะเท่านั้น Without Illusionอปมายา ยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์ที่ไร้ขอบเขตและเชื่อมโยงให้ผู้ชมได้สัมผัสถึงแรงขับเคลื่อนที่ศิลปินทั้งสองมีต่อผลงานในครั้งนี้อีกด้วย

ผู้ที่สนใจสามารถร่วมชมนิทรรศการประติมากรรมศิลปะร่วมสมัยและเครื่องประดับเงิน  Without Illusion – อปมายา (อะ-ปะ-มา-ยา)  ได้ที่โรงแรมรายาเฮอริเทจ  จ.เชียงใหม่ วันที่ 9 ธ.ค. 67 ถึง วันที่ 31 ม.ค. 68  (เข้าชมฟรี)

This site is registered on wpml.org as a development site.